logo

Travel Bubble ไทยจะทำร่วมกับใคร!!

มิถุนายน 17, 2020 | by Grandworld Holiday

Travel Bubble ไทยจะทำร่วมกับใคร!!

ตามที่เราพอจะทราบกันแล้วว่า Travel Bubble เป็นการจับคู่ หรือรวมกันของกลุ่มประเทศที่ควบคุมโควิดได้ เป็นการตกลงร่วมกันเพื่อให้ประชาชนของประเทศที่ทำร่วมกันนั้นสามารถเดินทางไปมาหากันได้อย่างสะดวก ภายใต้เงื่อนไขของความปลอดภัยที่มีการกำหนดแนวทางร่วมกัน ซึ่งตัวอย่างประเทศที่เห็นภาพชัดเจนก็คือ ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศบอลติก เอสโทเนีย-ลัตเวีย-ลิทัวเนีย เป็นต้น คราวนี้เรามาดูกันว่าประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดีมากประเทศหนึ่ง จะดำเนินการทำ Travel Bubble กับประเทศใดบ้าง

นโยบายการเปิดประเทศของไทยที่อาจจมีขึ้นในไม่ช้า

เชื่อว่าทางรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถทำงานได้ดีจนชาวต่างชาติเห็นและยอมรับ ดังนั้น หากไทยสามารถควบคุมโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ดีต่อไปเรื่อยๆ หรือดีจนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ อาจมีการเปิดประเทศในไม่ช้า ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ

  • สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในยุค COVID / Post-COVID ชูจุดแข็งของประเทศด้านสาธารณสุขและการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยว หลังจากที่มีการ Lockdown มาระยะหนึ่ง
  • เลือกนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศว่าในแต่ละเดือนจะให้เข้ามาได้เท่าไหร่ โดยมีกี่เทียวบิน จากเส้นทางใด
  • กำหนด Safe Zone for Tourism เมืองหลัก เมืองรองที่เต็มใจรับนักท่องเที่ยว มีการเลือกแหล่งท่องเที่ยว
  • การ Check in และ Check out ก่อนมาตรวจรับรอง COVID-free มีใบรับรองแพทย์รับรอง Fit to Fly ต้องซื้อประกันสุขภาพที่รับรอง COVID-19 เมื่อมาถึงมีการตรวจสอบ Rapid Test
  • วางมาตรการ Safe Hospitality Service โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว  
  • ระบบ Digital ให้โหลด App ในการ Track ติดตามตัว  

แนวทางดำเนินการ Travel Bubble ของไทยกับประเทศอื่น

  • เลือกเป้าหมายจากประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ดี โดยพิจารณาจากเกณฑ์ข้อกำหนดและคำแนะนำของกระทรวง สาธารณสุข
  • ต้องมีมาตรการตรวจหาเชื้อและป้องกันอย่างเข้มงวด โดยต้องตรวจเชื้อโควิดก่อนเดินทางออกนอกประเทศต้นทาง และตรวจอีกครั้งเมื่อเดิน ทางเข้าไทย และต้องซื้อประกัน COVID-19 เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลหากเกิดการติดเชื้อและต้องเข้ารักษาตัวในระหว่างอยู่ใน ประเทศไทย  
  • ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องยินยอมให้มีการติดตามตัว (Track & Trace) ผ่าน Application มือถือที่จัดเตรียมไว้ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย และต้องเข้า-ออกตามระยะเวลาที่แจ้งไว้อย่างเคร่งครัด โดยเป็นการรับผิดชอบของผู้รับประกัน
  • อาจกำหนดพื้นที่ปิด (Sealed Area) เป็น Safe Zone for Tourism โดยพิจารณาจากแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองหลักและเมืองรองที่ประชาคมเต็มใจยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาพำนักและท่องเที่ยว  
  • วางมาตรการ Safe Hospitality Services ในห่วงโซ่อุปทาน เช่น แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ต้องได้รับมาตรฐาน Safety & Health Administration (SHA) ที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  
  • พิจารณาผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ โดยกลุ่มแรกจะเป็นนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวในกลุ่มเดินทางเพื่อการแพทย์และสุขภาพ ไม่ใช่กรณี เข้ามาเพื่อรักษา COVID-19 ในประเทศไทย เมื่อดำเนินการสักระยะหนึ่งและสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดี จึงจะพิจารณา ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปที่เดินทางมาเป็นคณะเข้ามาโดยเป็นกลุ่มขนาดเล็ก หลังจากนั้นจึงจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระ (Free Individual Traveler – FIT)  

หนังสือเดินทางสุขภาพ Digital Health Passport Application (DHP)

สำหรับแอพลิเคชั่นที่ทางการไทยจะใช้ในการตรวจสอบสุขภาพผู้เดินทางคือ Digital Health Passport Application (DHP) โดยทำหน้าที่

  • บันทึกข้อมูลสุขภาพ
  • ช่วยในการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง
  • แจ้งระดับความเสี่ยง ยืนยันควมปลดภัยของผู้เดินทาง ออกมาเป็นสี เช่น สีเขียว-ปกติ, สีเหลือง-ความเสี่ยงน้อย, สีส้ม-ความเสี่ยงปานกลาง และสีแดง-ความเสี่ยงสูง
  • เสริมสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
  • ไม่ละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

วิธีการปฏิบัติโดยใช้ Digital Health Passport Application (DHP)

  • ก่อนเดินทางมาประเทศไทย: ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน > ลงทะเบียนออนไลน์ > จอง Test on Arrival และซื้อประกัน COVID-19 > เตรียมหนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศไทย > เตรียมใบรับรองแพทย์ (ล่วงหน้าตามจำนวนวันที่ทางสาธารณสุขกำหนด)
  • ระหว่างเดินทาง: สแกน QR Code เพื่อยืนยันข้อมูลสุขภาพ > ยื่นใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศไทย > Test on Arrival > ยินยอมให้มีการติดต่อกรณีมีความเสี่ยงหรือพบการติดเชื้อ > เปิดใช้ application โดยสแกน QR Code เพื่อเข้าพื้นที่ต่างๆ
  • หลังเดินทาง: สแกน QR Code เพื่อยืนยันข้อมูลสุขภาพ > Test on Departure (แล้วแต่กรณี)

ประเทศเป้าหมาย Travel Bubble ไทยจะทำร่วมกับใคร

จีน รวมฮ่องกง มาเก๊า มีการหารือแล้วกับภาครัฐระดับเมืองของจีนและสำนักงานพาณิชย์ของฮ่องกง แสดงความประสงค์ที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อเพื่อให้เกิด travel bubble ระหว่างกัน ทั้งนี้สถานการณ์ในจีนยังไม่นิ่ง อาจจะต้องหารือกันในระยะต่อไป

เวียดนาม มีการหารือแล้วกับ Vietnam National Administration of Tourism (VNAT) ซึ่งแสดงความสนใจที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อ

ประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สปป.ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และประเทศตะวันออกกลาง อยู่ในระหว่างการหารือโดยสำนักงาน ททท. ในต่างประเทศ

*อาจเริ่มพร้อมกันหลายประเทศในลักษณะเป็น Group Bubble

ทั้งนี้ยังเป็นเพียงแนวทางที่หารือร่วมกัน และในขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ถือว่าเป็นสัญญาณดีที่ประเทศไทยสามารถเป็นที่ยอมรับกับหลายกลุ่มประเทศและเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการ Travel Bubble ได้ในเวลาอันใกล้นี้แน่นอน

sticky